สถานที่ดำเนินการ

ประกอบด้วย 6 อำเภอ คือ อำเภอสิงหนคร, อำเภอสทิงพระ,  อำเภอกระแสสินธุ์, อำเภอระโนด, อำเภอควนเนียง, อำเภอบางกล่ำ

การออกแบบทางวิศวกรรม

  1. แหล่งน้ำดิบที่เหมาะสม
    • 1) คลองอู่ตะเภา บริเวณสะพานบ้านหาร
      ประตูระบายน้ำปากคลองท่าช้าง-บางกล่ำ
    • 2) คลองภูมินาถดำริ (คลอง ร.1)
      ประตูระบายน้ำปากคลองท่าช้าง-บางกล่ำ
  1. สถานีผลิตน้ำประปา
    • บริเวณประตูระบายน้ำท่าช้าง-บางกล่ำ      อ.บางกล่ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เอกชน ประมาณ 20 ไร่ 2 งาน 8 ตารางวา โดยการก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 กำลังการผลิต 2,000 ลบ.ซม. (10 ปี) และระยะที่ 2 กำลังการผลิต 2,000 ลบ.ซม. (20 ปี)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อศึกษา สำรวจ ออกแบบระบบประปาในพื้นที่จังหวัดสงขลา
2. เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ให้มีน้ำประปาใช้ในการอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึงเพียงพอ
3. เพื่อจัดหาน้ำสะอาดถูกสุขอนามัยสำหรับอุปโภคบริโภคในรูปแบบระบบประปาให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา
4. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ 6 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ (อำเภอสิงหนคร อำเภอสทิงพระ อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอระโนด) อำเภอควนเนียง และอำเภอบางกล่ำ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา มีน้ำประปาในการอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพทั่วถึงเพียงพอและมีมาตรฐาน
2. มีน้ำสะอาดถูกสุขอนามัยสำหรับอุปโภคบริโภคในรูปแบบระบบประปาหมู่บ้านให้แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา
3. ประชาชนในพื้นที่จังหวัด มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป

การดำเนินงานโครงการ

1. โครงการจ้างที่ปรึกษา ศึกษาออกแบบโครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาออกแบบโครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยได้ดำเนินการ ศึกษาออกแบบเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

2. โครงการจ้างที่ปรึกษาตามโครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสงขลา ครั้งที่ 2 โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ทำการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ประกอบด้วย ความเป็นไปได้ของโครงการในด้านเทคนิค ความเสี่ยงของโครงการ ทางเลือกรูปแบบการร่วมลงทุน การจัดสรรหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างรัฐและเอกชน ผลการรับฟังความคิดเห็นของเอกชนที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

– เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือกได้ประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาไม่น้อยกว่า 3 ราย และได้รายงานให้กองพัสดุและทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนพัสดุ
– เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 กองพัสดุและทรัพย์สิน ได้แจ้งว่าผู้บริหารสอบถามเหตุผลและรายละเอียดที่ต้องดำเนินการโครงการจ้างที่ปรึกษาฯ ครั้งที่ 2 ต่อผู้บริหารทราบ
– เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ได้มีหนังสือจากกองพัสดุและทรัพย์สิน คณะกรรมการฯ ได้มีหนังสือเชิญชวนให้ที่ปรึกษาทั้ง 7 ราย เพื่อพิจารณาคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการจ้างงานดังกล่าว ในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30 น. ณ ห้องจัดซื้อจัดจ้าง ชั้น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
– เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา ได้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาการยื่นข้อเสนองานของที่ปรึกษา โดยมีที่ปรึกษามายื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและข้อเสนอด้านราคา จำนวน 2 ราย คือ
1. กลุ่มที่ปรึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัท ไซน์-เทค เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
2. บริษัท สแปน คอนซัลแตนท์ จำกัด
– คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาอยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบเอกสารการยื่นข้อเสนอของที่ปรึกษา โดยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 10 วัน นับจากวันยื่นขอเสนอราคา

3. ก่อสร้างระบบบริหารจัดการน้ำ

อยู่ระหว่างรอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการ

วีดิโอ